ความสำคัญและความเป็นมา
ศูนย์วิชาการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นหน่วยงานระดับศูนย์/ฝ่าย ที่ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นการภายใน โดยแยกภาระงานวิชาการออกมาจากศูนย์บริการการสอนทางวิทยุและโทรทัศน์ เนื่องมาจากสำนักเทคโนโลยีการศึกษามีภารกิจทั้งด้านงานวิชาการและงานปฏิบัติการอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในขณะนั้น ยังขาดหน่วยงานที่รับผิดชอบทางด้านงานวิชาการโดยตรง และ เพื่อให้สำนักเทคโนโลยีการศึกษาสามารถขยายศักยภาพทางวิชาการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงได้จัดตั้งศูนย์วิชาการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาขึ้นมา โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นหน่วยงานรองรับงานและพัฒนางานทางด้านวิชาการ งานวิจัย งานจัดระบบ ออกแบบ พัฒนาเทคโนโลยีและสื่อทางการศึกษา งานบริการและเผยแพร่ทางวิชาการ ตลอดจนงานศึกษาค้นคว้า การประยุกต์ใช้วิทยาการ เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมโลกที่แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ซึ่งถือเป็นภาระหน้าที่และความรับผิดชอบหลักของคณาจารย์ประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา อีกทั้งยังเสริมสร้างสมรรถนะของบุคลากรให้มีองค์ความรู้ ทักษะความสามารถในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง ด้วยเหตุนี้ ศูนย์วิชาการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จึงมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนระบบการจัดการเรียนการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
โครงสร้างส่วนงานโดยสังเขป

บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ
ศูนย์วิชาการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามีบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ ดังนี้
คณาจารย์ประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา
1) จัดระบบ ออกแบบ ควบคุมการผลิต และประเมินสื่อการศึกษา
1.1) จัดระบบและออกแบบสื่อ
– วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา วัตถุประสงค์ แผนหน่วย แผนตอน และหัวเรื่องของชุดวิชา
– สังเคราะห์ข้อมูล เพื่อจัดทำแผนจัดระบบสื่อ และออกแบบสื่อ
– สร้างแบบจำลอง
– เขียนแผนการจัดระบบ
– นำเสนอแผนการจัดระบบและออกแบบสื่อ ต่อคณะกรรมการกลุ่มผลิตชุดวิชา
1.2) ควบคุมการผลิตสื่อ
– ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
– จัดทำแผนการสอน
– ควบคุมการผลิต
– ตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขในขั้นตอนระหว่างการผลิต
1.3) ประเมินสื่อ
– ตรวจสอบสื่อ ก่อนเผยแพร่
– ทดสอบประสิทธิภาพการใช้สื่อ
คณะกรรมการ ศวช.
2) กำหนดกรรมการด้านเทคโนโลยีการศึกษาให้กับกลุ่มผลิตและบริหารชุดวิชา
2.1) ประสานงานกับสาขาวิชา เพื่อรับทราบข้อมูลในการผลิตชุดวิชาเบื้องต้น
2.2) พิจารณาภาระงาน โดยใช้เกณฑ์ภาระงานขั้นต่ำ
2.3) จัดสรรภาระงานให้เกิดความยุติธรรม
3) กำหนดบุคลากรในการจัดระบบ ออกแบบ และควบคุมการผลิตสื่อการศึกษาอื่น เช่น สื่อบริการสังคม สื่อเพื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น
3.1) ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบข้อมูลเบื้องต้น
3.2) พิจารณาภาระงานด้วยความยุติธรรม เพื่อให้บุคลากรมีภาระงานความรับผิดชอบที่เท่าเทียมกัน
4) ปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายจากสำนักเทคโนโลยีการศึกษา และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
กลุ่มงานวิจัย
5) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการวิจัยทางด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และการวิจัยประยุกต์
5.1) ส่งเสริมให้คณาจารย์มีความรู้ ทักษะความสามารถในการผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ และมีคุณค่าต่อมวลมนุษยชาติ
5.2) สนับสนุนให้มีการวิจัย และพัฒนาสื่อการศึกษา ตลอดจนการวิจัยด้านการผลิตสื่อ การเสนอแนวทางที่เหมาะสมต่อการผลิตสื่อที่สามารถนำไปปฏิบัติ และประยุกต์ใช้ในการจัดเรียนการสอนได้จริง
5.3) ส่งเสริมให้คณาจารย์ได้มีโอกาสร่วมงานวิจัยกับนักวิจัยที่มีคุณภาพภายนอกองค์กร
5.4) สนับสนุนให้คณาจารย์ได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานงานวิชาการ และงานวิจัยของตนในระดับสากล
5.5) ส่งเสริมให้คณาจารย์ได้ศึกษาค้นคว้า แปลและเรียบเรียง ถ่ายทอดองค์ความรู้ และประสบการณ์ไปสู่การเขียนตำรา บทความ เอกสารทางวิชาการ และ/หรืออื่นๆ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้เรียน และผู้สนใจศึกษาค้นคว้าได้อ้างอิงข้อมูลที่เป็นประโยชน์และมีคุณค่าอย่างแท้จริง
กลุ่มงานพัฒนาสื่อ
6) ส่งเสริมและพัฒนาสื่อให้ทันต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และความต้องการของมหาวิทยาลัย
6.1) ให้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี และสื่อสารการศึกษาแก่บุคลากร ทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย
6.2) ออกแบบ ผลิต และทดสอบหาประสิทธิภาพของสื่อการศึกษา เพื่อพัฒนาเป็นสื่อต้นแบบ
6.3) พัฒนา และวิจัยสื่อการศึกษาต้นแบบ
6.4) ผลิต และเผยแพร่สื่อการศึกษาต้นแบบ
กลุ่มงานบริการและเผยแพร่
7) บริการทางวิชาการและเผยแพร่เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
7.1) จัดหาข้อมูลความรู้ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อเป็นแหล่งสารสนเทศด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สำหรับคณาจารย์ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
7.2) จัดทำสื่อสื่อสนับสนุนการเผยแพร่งานวิชาการตามความเหมาะสม
7.3) จัดอบรม สัมมนา หรือการศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาให้แก่คณาจารย์
7.4) จัดหาทรัพยากรสนับสนุนด้านวิชาการแก่งานวิจัย และงานพัฒนาสื่อ จัดหาวิทยากรในการบรรยาย การอบรม การสัมมนา ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
7.5) นำเสนอความรู้ข้อมูลข่าวสารด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาแก่คณาจารย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
7.6) เผยแพร่ผลงานของคณาจารย์ประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา ให้เป็นที่ประจักษ์ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
7.7) ประชาสัมพันธ์งานของหน่วยงาน
7.8) สนับสนุนการดำเนินการจัดหารายได้ของหน่วยงาน