อาจารย์ "นักเทคโนโลยีการศึกษา"

1.ให้คำแนะนำกรรมการด้านเนื้อหาเกี่ยวกับรูปแบบของสื่อ
2.เสนอแผนการผลิตบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์
3.ออกแบบบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์
4.ร่วมพิจารณากำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนในระบบอิเล็กทรอนิกส์
5.ประสานงานกับศูนย์/ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสื่อและติดตามการผลิตสื่อให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
6.ร่วมตรวจสอบและประเมินคุณภาพบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์
7.พัฒนาและปรับปรุงบทเรียนอิเล็กทรอกส์

  1. ติดต่อ “งานเผยแพร่และสนับสนุนการเรียนการสอน” แจ้งรายละเอียดพร้อมกำหนดการผลิตเพื่อจองห้อง studio 
  2. เมื่อติดต่อแล้ว ท่านจะได้ผู้ประสานงานประจำชุดวิชา  ซึ่งสามารถประสานงานการผลิตได้ทันที
  3. เช็คตารางห้อง studio เพื่อวางแผนการผลิต คลิก
  1. ส่งไฟล์พรีเซนเทชันพร้อมด้วย Story Board กับผู้ประสานงานชุดวิชาวิชา อย่างน้อย 3 วัน ก่อนวันถ่ายทำจริง
  2. แจ้งรูปแบบความต้องการในการผลิต พร้อมอุปกรณ์ที่ต้องการใช้ เช่น วิทยากรมีการนำคอมพิวเตอร์มาเอง  หรือต้องการใช้อุปกรณ์ชนิดอื่น 
  3. ไฟล์ Power Point  ขนาดหน้าจอต้องเป็น WideScreen 16:9
    วิธีการ : เมนู Design>SlideSize>WideScreenZ16:9)
    ขนาดและสีตัวอักษร มีความชัดเจนเหมาะสม
    สามารถใช้ Template ของมหาวิทยาลัยได้
    ข้อความ รูปภาพ เสียง และวีดิโอ ที่นำมาใช้ต้องทำการขออนุญาติหรือใส่ที่มาใต้สื่อนั้นๆ
    Font ที่นำมาใช้ต้องเป็น Font ที่ถูกลิขสิทธ หรือ Font ฟรี เช่น TH Sarabun..
    Video : 1 ตอนไม่ควรเกิน 30 นาที
  4. หากประสงค์จะเตรียมการ/ซักซ้อมความเข้าใจ/เช็คห้องหรืออุปกรณ์ สามารถแจ้งผู้ประสานประจำชุดได้ 
  1. Login เพื่อเข้าระบบที่ moodle.stou.ac.th
  2. มีคำถามเกี่ยวกับการเข้าใช้ สามารถศึกษาได้ที่ http://moodle.stou.ac.th/mod/forum/discuss.php?d=43988 
  3. หากมีคำถามเพิ่มเติม ติดต่อเจ้าหน้าที่ “งานระบบฯ” ประจำชุดวิชา

 สามารถเช็คชุดวิชาที่เปิดสอนผ่าน e-learning ได้ที่ >> คลิก อีกทั้งยังสามารถเช็คว่าท่าน/อาจารย์นักเนื้อหา มีรายชื่ออยู่ในรายชื่อผู้สอนในระบบ

  1. ขั้นตอนการผลิต:
    1. ออกแบบลักษณะการสอน เช่น การจัดวางท่าทางร่างกายที่เหมาะสม ลักษณะการนั่งของวิทยากร เป็นต้น
    2. รูปแบบการถ่ายทำ เช่น แสง มุมกล้อง เป็นต้น
    3. พรีเซนเทชัน เช่น theme สี ภาพประกอบเนื้อหา เป็นต้น 
  2. ระบบ e-learning
    1. สามารถร่วมออกแบบกิจกรรม/การประเมินผล/การให้คะแนน ผ่านระบบ e-learning
    2. การเรียงลำดับกิจกรรม

                       “ร่วมแชร์ไอเดีย แบ่งปันความรู้ เพื่อการพัฒนา”

อาจารย์ "ประจำสาขา/อาจารย์นักเนื้อหา/วิทยากรภายนอก"

1.วิเคราะห์โครงสร้างเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของชุดวิชา
2.กำหนดสื่อประกอบการเรียนและแหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติม
3.กำหนดเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์
4.ร่วมตรวจสอบและประเมินคุณภาพบทเรียนอิเล็กทรอกนิกส์
5.กำหนดปฏิทินการศึกษาของการเรียนการสอนในระบบอิเล็กทรอนิกส์
6.กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนในระบบอิเล็กทรอนิกส์
7.ดำเนินการสอนในระบบอิเล็กทรอนิกส์
8.ให้คำแนะนำ/คำปรึกษาและตอบคำถามแก่นักศึกษา
9.จัดทำแบบประเมินตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน

  1. เมื่อท่านได้รับการติดต่อจากผู้ประสานงาน สามารถแจ้งความต้องการเบื้องต้น เช่น หากท่าต้องมีการต่ออุปกรณ์เพิ่มเติม มี source ไฟล์เพิ่มเติมที่ต้องการเสริมจากพรีเซนเทชัน เป็นต้น
  2. แจ้งผู้ประสานงาน หากท่านไม่ต้องการแต่งหน้า
  3. ข้อแนะนำในการแต่งกาย
  1. เช็คชุดวิชาที่เปิดสอนผ่าน e-learning คลิก
  2. Login เพื่อเข้าระบบที่ moodle.stou.ac.th
  3. มีข้อสงสัยในการเข้าใช้งาน สามารถอ่านประกาศได้ที่ ประกาศข่าวสำหรับผู้สอน หรือติดต่อ ฝ่ายระบบ