You are currently viewing ผศ.ดร.พิมพ์ประภา พาลพ่าย เข้าร่วมงานประชุมทางวิชาการ ระดับนานาชาติ เรื่อง EDULEARN24: 16th Annual International Conference on Education and New Learning Technologies ประเทศราชอาณาจักรสเปน

ผศ.ดร.พิมพ์ประภา พาลพ่าย เข้าร่วมงานประชุมทางวิชาการ ระดับนานาชาติ เรื่อง EDULEARN24: 16th Annual International Conference on Education and New Learning Technologies ประเทศราชอาณาจักรสเปน

ในวันที่ 1 – 3 กรกฎาคม 2567 ผศ.ดร.พิมพ์ประภา พาลพ่าย อาจารย์ประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้เข้าร่วมงานประชุมทางวิชาการ ระดับนานาชาติ เรื่อง EDULEARN24: 16th annual International Conference on Education and New Learning Technologies ซึ่งจัดขึ้นที่ The Palma Convention Centre (Palau de Congressos de Palma) เมือง Palma de Mallorca ประเทศราชอาณาจักรสเปน 

วัตถุประสงค์ของงานนี้ เป็นงานประชุมนานาชาติเกี่ยวกับการศึกษาและเทคโนโลยีการเรียนรู้แบบใหม่ เพื่อพัฒนาวิชาชีพ และสร้างเครือข่ายเปิดโอกาสได้พบปะกับผู้อื่นในสาขาที่คล้ายคลึงกัน มีผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย นักวิชาการ อาจารย์ หลากหลายสาขา กว่า 750 คนเข้าร่วมงาน จาก 70 ประเทศทั่วโลก มีรูปแบบการนำเสนอแบบบรรยายซึ่งมีผู้สนใจ 81 เรื่อง และแบบโปสเตอร์ 240 เรื่อง นอกจากนี้มีการจัดเวิร์คช็อป 9 กิจกรรม เป็นโอกาสในการสร้างความร่วมมือ สร้างเครือข่ายในการทำงานด้านวิชาการร่วมกับนานาชาติผ่านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกัน แบ่งปันความรู้งานวิจัยร่วมกันอภิปราย และระดมความคิด ทั้งนี้ และมีการบรรยายพิเศษเกี่ยวกับ AI และ Flipped Learning โดยนักการศึกษาชั้นนำระดับโลก เป็นงานประชุมวิชาการที่ได้รับการยอมรับจากคนทั่วโลก จึงเป็นงานประชุมวิชาการที่เหมาะกับผู้ที่อยู่ในแวดวงการศึกษา ได้เปิดมุมมองใหม่ๆ ทางด้านการใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษา

นอกจากนี้ หลังจากการเข้าร่วมงานประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ  ผศ.ดร.พิมพ์ประภา พาลพ่าย ได้จัดทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับคณาจารย์สำนักเทคโนโลยีการศึกษา ในวันที่ 14 สิงหาคม 2567 เพื่อนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในชุดวิชาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เช่น สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชุดวิชา 10152 ไทยกับสังคมโลก ในด้านการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนใน e-Learning โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และการปรับปรุงสื่อเสียงของชุดวิชาเป็นรูปแบบพอดแคชให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น

จากการเข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงานได้รับความรู้เชิงวิชาการ การเรียนรู้วัฒนธรรมต่างชาติ และแลกเปลี่ยนงานวิจัยร่วมกับนักวิจัยประเทศอื่นๆ ได้เห็นแนวโน้มของการทำวิจัยในระดับนานาชาติ และสร้างเครือข่ายนักวิจัยสายวิชาการทางการศึกษา ในสาขาต่างๆ และได้นำองค์ความรู้ของงานวิจัยที่สนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ กับการคิดวิเคราะห์ การพัฒนาทักษะผู้เรียนตามกระแสของโลก นอกจากนี้ยังเห็นแนวทางการออกแบบกระบวนการวิจัย และวิธีการนำเสนอผลงาน

บรรยากาศภายในงาน >>https://youtu.be/7epPkh5Rt1k?si=kXwLbrjFA59XzM_w

Social Share...