เทคโนโลยีกล้องหุ่นยนต์ (Robotic Camera Systems) อนาคตของวงการถ่ายทำภาพยนตร์และวิดีโอ
ธีระวิทย์ พุ่มไพบูลย์
สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มสธ.
ในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การถ่ายภาพและถ่ายวิดีโอได้มีพัฒนาขึ้นจากการใช้คนควบคุมกล้องถ่ายทำสู่การควบคุมผ่านระบบอัตโนมัติหรือ Robotic Camera Systems ซึ่งไม่เพียงช่วยให้การถ่ายทำง่ายขึ้น แต่ยังเพิ่มความแม่นยำและคุณภาพที่เหนือกว่า
Robotic Camera Systems คืออะไร?
Robotic Camera Systems คือ ชุดอุปกรณ์ที่ประกอบไปด้วยกล้องที่ติดตั้งบนแท่นหรือแขนหุ่นยนต์ซึ่งสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ โดยควบคุมผ่านซอฟต์แวร์หรือรีโมทคอนโทรล ระบบนี้ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถปรับมุมกล้อง ซูม หมุน หรือแม้แต่เคลื่อนที่กล้องได้อย่างแม่นยำโดยไม่ต้องสัมผัสตัวกล้องโดยตรง
Robotic Camera Systems มีประเภทใดบ้าง
Robotic Camera Systems สามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะการทำงานและการใช้งานที่แตกต่างกัน จำแนกออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
1. CamerasFixed Robotic Cameras (กล้องหุ่นยนต์แบบติดตั้ง)
เป็นกล้องที่ติดตั้งในขาหรือตำแหน่งคงที่ แต่สามารถควบคุมการหมุน (Pan) ก้ม-เงย (Tilt) และซูม (Zoom) โดยรีโมท ทำให้สามารถควบคุมกล้องถ่ายทำจากระยะไกลได้ กล้องประเภทนี้ส่วนใหญ่ใช้ในการถ่ายทอดสด ไม่ว่าจะเป็น การประชุม การเฝ้าระวังความปลอดภัยหรือในมุมที่ตั้ง แต่ไม่สามารถใช้คนถ่ายทำได้ ตัวอย่างกล้องประเภทนี้ ได้แก่ กล้องแบบ PTZ (Pan-Tilt-Zoom) Cameras และกล้องแบบ Robotic Head Cameras เป็นต้น
ภาพที่ 1 กล้องแบบ PTZ (Pan-Tilt-Zoom) และ Remote Control
ที่มา : https://www.99aplus.com/product/37กล้องวงจรปิด-panasonic-aw-he130-kej-integrated-camera-black
https://pro.sony/ue_US/products/ptz-network-cameras, https://www.mylumens.com/en/Products/1/PTZ-Camera
2. Mobile Robotic Cameras (กล้องหุ่นยนต์แบบเคลื่อนที่ได้) หรือ Moving Robotic Cameras
เป็นกล้องที่ติดตั้งบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ เช่น รถเข็นอัตโนมัติ อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) โดยมีโปรแกรมหรือเครื่องสำหรับควบคุมตำแหน่งการถ่ายทำของกล้อง กล้องแบบนี้ใช้สำหรับการถ่ายทำในพื้นที่ที่ต้องการมุมมองหลากหลาย เช่น กีฬา การสำรวจทางอุตสาหกรรม การถ่ายทำภาพยนตร์ เป็นต้น ตัวอย่างกล้องประเภทนี้ ได้แก่ กล้องบนโดรนสำหรับการถ่ายภาพมุมสูง กล้องบนรถเข็นตรวจความปลอดภัย
ภาพตัวอย่างจาก https://emojis.sh/emoji/fpv-drone-WaQhYQz
ภาพตัวอย่างจาก https://emojis.sh/emoji/fpv-drone-WaQhYQz
3. Robotic Crane Cameras (กล้องติดตั้งบนเครนหุ่นยนต์)
เป็นกล้องที่ติดตั้งบนแขนเครนที่สามารถเคลื่อนไหวได้โดยอัตโนมัติ ใช้ในงานถ่ายทำภาพยนตร์ งานโฆษณา ถ่ายทำการแสดงดนตรีและกิจกรรมต่างๆ เพื่อได้มุมมองที่ยืดหยุ่นและน่าตื่นตา ตัวอย่างกล้องประเภทนี้ ได้แก่ กล้องแบบ Techno cranes
ภาพที่ 2 กล้องแบบ Techno cranes
ที่มา : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Commercial_For_Black_Visa.JPG
4. Robotic Arm Cameras (กล้องติดตั้งบนแขนกล)
เป็นกล้องที่ติดตั้งบนแขนหุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนที่ในหลายแกน (Axes) เพื่อการถ่ายภาพที่ซับซ้อน ใช้ในงานถ่ายทำที่ต้องการความแม่นยำ เช่น การถ่ายทำแบบ Motion Control สำหรับเทคนิคพิเศษในภาพยนตร์ การถ่ายทำในสตูดิโอ เป็นต้น ตัวอย่างกล้องประเภทนี้ ได้แก่ กล้องแบบ Bolt High-Speed Cine bot
ภาพที่ 3 กล้องแบบ Bolt High-Speed Cine bot
ที่มา : http://www.thevfxco.co.uk/motion-control/bolt-high-speed-cinebot/, https://www.konspiracystudios.com/bolt-cinema-robot
5. Autonomous Tracking Cameras (กล้องหุ่นยนต์ติดตามอัตโนมัติ)
เป็นกล้องที่ติดตั้งระบบ AI หรือเซ็นเซอร์สำหรับติดตามวัตถุหรือบุคคลแบบอัตโนมัติ ใช้ในงานถ่ายทอดสด การศึกษา หรือระบบประชุมออนไลน์ ตัวอย่างกล้องประเภทแบบได้แก่ กล้องติดตาม AI เช่น กล้อง OBSBOT กล้อง Mevo
ภาพที่ 4 กล้อง OBSBOT
ที่มา : https://www.trustedreviews.com/reviews/obsbot-tiny-2-lite,
ภาพที่ 5 กล้อง Mevo
ที่มา : https://www.wired.com/2017/04/review-mevo-livestream/
6. Robotic Studio Systems (ระบบกล้องหุ่นยนต์ในสตูดิโอ)
เป็นกล้องที่ติดตั้งในสตูดิโอพร้อมระบบควบคุมอัตโนมัติ โดยมีการใช้ร่วมกับโปรแกรมกราฟิกต่างๆ ใช้ในงานถ่ายทอดข่าว รายการทีวี หรือการถ่ายทำในสตูดิโอที่ต้องการการควบคุมมุมมองที่หลากหลาย ตัวอย่างกล้องประเภทนี้ ได้แก่ กล้องในระบบ Virtual Studio
ภาพที่ 6 Robotic Studio Systems
ที่มา : https://www.4rfv.co.uk/industrynews/202012/nrk_purchases_shotoku_multi_site_remote_camera_solution
สรุป: การเลือกใช้ Robotic Camera Systems แต่ละประเภทขึ้นอยู่กับความต้องการและลักษณะของงาน เช่น งานประชุม งานสัมมนาออนไลน์ อาจใช้ Fixed Robotic Cameras งานถ่ายภาพยนตร์อาจเน้น Robotic Arm Cameras ในขณะที่งานกีฬาอาจใช้ Mobile Robotic Cameras หรือ Autonomous Tracking Cameras เพื่อความสะดวกและแม่นยำ ข้อดีของการใช้ Robotic Camera Systems สามารถลดต้นทุนในระยะยาว เนื่องจากใช้คนควบคุมกล้องน้อยลง สามารถสร้างสรรค์มุมมองใหม่ที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ และเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการถ่ายทำ แต่ยังคงต้องคำนึงถึงงบประมาณต้นทุนสำหรับการติดตั้งและบำรุงรักษา รวมทั้งบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญในการควบคุมและการใช้โปรแกรมควบคุมการเคลื่อนไหวต่างๆ
Robotic Camera Systems ไม่ได้เป็นเพียงอุปกรณ์ที่เพิ่มความสะดวกสบายในการถ่ายทำ แต่ยังเปิดโอกาสให้สร้างสรรค์มุมมองใหม่ๆ ที่ไม่เคยเป็นไปได้มาก่อน เทคโนโลยีนี้กำลังกลายเป็นหัวใจสำคัญในการถ่ายทำภาพยนตร์และวิดีโอ และจะยังมีการพัฒนาต่อไปในอนาคต
มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) ศูนย์กลางนวัตกรรมการศึกษาทางไกลที่ผสมผสานเทคโนโลยีทันสมัย พร้อมให้บริการด้านการผลิตสื่อการเรียนการสอนดิจิทัล ระบบการเรียนออนไลน์ที่เข้าถึงง่าย และการให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีการศึกษาอย่างครบวงจร ติดต่อเราได้ที่ https://oet.stou.ac.th/academic-work/ เพื่อค้นพบโอกาสทางการศึกษาที่ไม่มีขีดจำกัด เรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ตามที่คุณต้องการ