เคล็ดลับการถ่ายภาพสำหรับมือใหม่: ฉบับปูพื้นฐาน" (ตอนที่ 3)
อังคณา พรรณนราวงศ์
สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มสธ.
สำหรับเคล็ด (ไม่) ลับการถ่ายภาพสำหรับช่างภาพมือใหม่ได้มาถึงตอนสุดท้าย ที่จะนำเสนอเทคนิคการนำเสนอภาพในลักษณะการถ่ายภาพแบบสมดุลในลักษณะต่างๆ เพื่อให้เห็นความแตกต่างของน้ำหนักของภาพ อารมณ์ ความรู้สึกของภาพ หรือจะเป็นการเลือกถ่ายภาพในมุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะการถ่ายภาพมุมสูง มุมต่ำ หรือมุมระดับสายตา ให้เห็นความแตกต่างของการนำเสนอภาพให้มีความแปลกตา ดึงดูดความสนใจมากขึ้น รวมถึงการถ่ายภาพให้ฉากหลังเบลอ เพี่อทำให้วัตถุสิ่งของ หรือการถ่ายภาพบุคคลให้ความโดดเด่น มีมิติ แยกฉากหลังกับวัตถุที่ต้องการถ่ายอย่างชัดเจน เกิดความสวยงามทั้งยังส่งเสริมให้ภาพที่ต้องการนำเสนอเด่นชัดมากขึ้นด้วย โดยช่างภาพมือใหม่ควรที่จะต้องทราบเนื้อหาดังต่อไปนี้
- ความสมดุลที่เท่ากัน
ความสมดุลที่เท่ากัน เป็นลักษณะการถ่ายภาพให้มีความสมดุลแบบเท่ากัน หรือสมดุลตรงกลาง ภาพที่ได้จะให้ความรู้สึก นิ่ง สง่างาม ซึ่งภาพลักษณะนี้สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป ดูแล้วธรรมดาไม่สะดุดตามากนัก แต่มีเสน่ห์และความงามในตัว

ภาพที่ 1แสดงความสมดุลแบบเท่ากัน
2. ความสมดุลที่ไม่เท่ากัน
ความสมดุลที่ไม่เท่ากัน เป็นภาพที่วัตถุทั้งสองข้างมีขนาดและรูปร่างที่ต่างกัน ให้ความรู้สึกสมดุลที่ไม่เท่ากัน แต่ภาพโดยรวมมองแล้วดูสมดุลเหมาะสมพอดี เพราะมีปัจจัยต่างๆที่มาประกอบในภาพ เช่น ฉากหน้า ฉากหลัง ขนาดวัตถุ สิ่งเหล่านี้ทำให้ภาพดูน่าสนใจ แปลกตามากขึ้น

ภาพที่ 2 ตัวอย่างภาพ แสดงความสมดุลที่ไม่เท่ากัน
3. การเลือกใช้มุมภาพ
การเลือกใช้มุมภาพ การถ่ายภาพสิ่งสำคัญอย่างที่ไม่ควรพลาดสำหรับการเลือกใช้มุมภาพต่างๆ ในการสร้างสรรค์งานให้ออกมามีความสวย ดูแปลกตา หน้าสนใจ เราควรถ่ายภาพให้มีทั้งการถ่ายภาพในระดับสายตา หรือภาพมุมต่ำและมุมสูง เพราะในเหตุการณ์เดียวกันแต่ขนาดภาพต่างกัน ภาพที่ได้ก็จะให้อารมณ์ ความรู้สึก รวมทั้งเกิดงานศิลปะที่แต่งต่างกันออกไป

ภาพที่ 3 ตัวอย่างภาพ แสดงการใช้มุมภาพระดับสายตา

ภาพที่ 4 ตัวอย่างภาพ แสดงมุมกล้องต่ำกว่าระดับสายตา

ภาพที่ 5 ตัวอย่างภาพ แสดงการเลือกใช้มุมสูง
4. ฉากหลัง
การถ่ายภาพโดยฉากหลัง ภาพที่ได้จะเห็นว่าฉากหลังเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยทำให้วัตถุที่เราถ่ายภาพนั้น
เด่นชัดขึ้น สวยงาม เน้นจุดสนใจได้ดี ภาพลักษณะนี้ นิยมใช้ในการถ่ายภาพบุคคล ดอกไม้ ฯลฯ ซึ่งขนาดภาพที่ได้จะเป็นภาพถ่ายใกล้ เราเรียกภาพลักษณะนี้ว่า ภาพด้านหน้าชัด ฉากหลังเบลอ

ภาพที่ 6 ตัวอย่างภาพ แสดงภาพด้านหน้าชัด ฉากหลังเบลอ

ภาพที่ 7 ตัวอย่างภาพ แสดงภาพ ด้านหน้าชัด ฉากหลังเบลอ
จากบทความที่ได้กล่าวมาทั้ง 3 ตอน จะพบว่าการนำองค์ประกอบของภาพมาประยุกต์ใช้เพื่อให้การถ่ายภาพของคุณไม่ใช่เพียงแค่เป็นภาพถ่ายธรรมดาเท่านั้น แต่ภาพที่ได้จะเป็นงานศิลปะที่สื่อให้เป็นถึงอารมณ์ของภาพ เกิดเรื่องราวที่น่าสนใจ ทั้งยังมีความสวยงาม เพิ่มมูลค่าของภาพถ่ายของคุณ และยังสามารถนำไปต่อยอดเพื่อสร้างรายได้อีกด้วย ซึ่งสิ่งสำคัญในการจะเป็นช่างภาพที่เก่ง มากความสามารถได้นั้น ช่างภาพทั้งหลายที่สนใจและรักการถ่ายภาพ จะต้องหมั่นฝึกฝนในการถ่ายภาพเป็นประจำ หรือเมื่อมีโอกาส ฝึกมองภาพที่ตาเห็นให้เป็นภาพศิลปะ เหล่านี้คือเส้นทางที่จะทำให้เราจะกลายเป็นช่างภาพมืออาชีพอย่างแน่นอน
พร้อมเป็นนักถ่ายภาพมืออาชีพหรือยัง?
หากท่านสนใจอยากเป็นช่างภาพมืออาชีพ แต่ไม่มีประสบการณ์มาก่อน สามารถดูตัวอย่างผลงานและใช้บริการของเราได้ที่ https://oet.stou.ac.th/product/ ร่วมกันสร้างสรรค์สื่อและนวัตกรรมล้ำสมัย พัฒนาการศึกษาทางไกล ไปกับเราที่สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มสธ.