You are currently viewing ทะยานสู่โลกดิจิทัล: การจัดนิทรรศการออนไลน์กับ Spatial

ทะยานสู่โลกดิจิทัล: การจัดนิทรรศการออนไลน์กับ Spatial

ทะยานสู่โลกดิจิทัล: การจัดนิทรรศการออนไลน์กับ Spatial

อ.ดร.วชิระ พรหมวงศ์
อาจารย์ประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

      สำรวจโลกใหม่ของนิทรรศการออนไลน์ผ่านเลนส์ของเทคโนโลยี บล็อกนี้พาท่านไปรู้จัก  Spatial แพลตฟอร์มการจัดนิทรรศการเสมือนจริงผ่านระบบออนไลน์
      การจัดนิทรรศการออนไลน์เป็นแนวทางที่น่าสนใจและสร้างสรรค์ โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีอย่าง Spatial ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้การจัดนิทรรศการและการประชุมเสมือนจริงมีมิติและประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับความจริงมากขึ้น ในบล็อกนี้จะนำเสนอการใช้ Spatial ในการจัดนิทรรศการออนไลน์
      ทำความรู้จักกับ Spatial    
      Spatial คืออะไร? Spatial เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการประชุมและการจัดนิทรรศการแบบเสมือนจริงที่ให้ประสบการณ์ 3D แบบโต้ตอบได้ เหมาะสำหรับการจัดนิทรรศการ การประชุม การสัมมนา หรือแม้แต่การสอนออนไลน์ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนจริงที่ผู้เข้าร่วมสามารถโต้ตอบระหว่างกันและกันได้อย่างง่าย ไม่ซับซ้อน โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1. การวางแผนและเตรียมการจัดนิทรรศการ
      ในขั้นการวางแผนจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดกลุ่มเป้าหมายและกิจกรรมหลักของนิทรรศการ เช่น การแสดงผลงานศิลปะ การเปิดตัวผลิตภัณฑ์หรือการแชร์ข้อมูลทางวิชาการ ผู้จัดต้องออกแบบสภาพแวดล้อมเสมือนให้สอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนวางแผนจะช่วยให้ผู้จัดออกแบบหรือเลือกสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับงานนิทรรศการ เช่น เลือกใช้รูปแบบ Gallery ในการแสดงภาพศิลป์ เลือกใช้ Boardroom with table ในการประชุม เลือกใช้ Auditorium ในการบรรยาย เป็นต้น

ภาพที่ 1 สภาพแวดล้อมสำเร็จรูปที่มีให้เลือกใช้ตามวัตถุประสงค์และกิจกรรมที่ต้องการจัดการ

2. พัฒนาและสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนจริง
      ในขั้นนี้สามารถเลือกสภาพแวดล้อมที่มีอยู่แล้วหรือสร้างขึ้นใหม่ การออกแบบสภาพแวดล้อมควรเน้นการใช้งานที่ง่ายเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงได้ การนำเสนอเนื้อหาและใส่วัตถุประกอบนิทรรศการมากจนเกินไป อาจส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการใช้งานของผู้ใช้  แต่ถ้าน้อยไปก็อาจจะทำให้นิทรรศการขาดความน่าสนใจ

ภาพที่ 2 สภาพแวดล้อมเสมือนที่จำลองภัตตาคารใต้น้ำที่มีพื้นที่กว้าง รายละเอียดเยอะ จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรสัญญาณอินเทอร์เน็ต และอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพตามที่กำหนดในการใช้งานซึ่งอาจไม่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายที่มีข้อจำกัดด้านการเข้าถึง

3. การนำเสนอเนื้อหาและถ่ายทอดสาระ
      สามารถนำเสนอผลงานศิลปะ ผลิตภัณฑ์ หรือข้อมูลผ่านวิดีโอ ภาพถ่าย หรือการนำเสนอแบบสไลด์ คุณสมบัติของ Spatial ที่สำคัญ คือ ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเนื้อหาหรือข้อมูลที่ผู้จัดต้องการเผยแพร่ได้ผ่านทางช่องทางใน Spatial

ภาพที่ 4 สภาพแวดล้อมจำลองหอศิลป์ปลาสวยงาม จัดเพื่อแสดงภาพและคลิปปลาสวยงาม ที่สร้างจาก AI
ภายในมีรายละเอียดโครงการ ภาพ และคลิปที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปชมและดาวน์โหลดไฟล์ที่ผู้จัดอนุญาตได้

4. การโต้ตอบและการมีส่วนร่วม
      ขั้นนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญ เป็นการสร้างปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้งาน หัวใจที่สำคัญของการจัดนิทรรศการออนไลน์ คือ ความสามารถในการมีปฎิสัมพันธ์และการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้งานกลุ่มต่าง ๆ ผู้จัดสามารถใช้ Spatial ในการสร้างโอกาสสำหรับการโต้ตอบ เช่น การสนทนากับผู้เข้าชม การจัดกิจกรรมสำหรับผู้เข้าชม หรือการเสนอปริศนาและเกมให้กับผู้เข้าชม

ภาพที่ 5 เกมแข่งรถที่ผู้จัดสามารถนำมาจัดเป็นเกมได้ภายใน Spatial

5. การประเมินผลและการปรับปรุง
      เป็นขั้นตอนประเมินผลและรับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าชม เพื่อปรับปรุงการจัดนิทรรศการในอนาคต โดยให้ผู้ใช้งานประเมินผ่านการสนทนากับผู้จัด หรือทิ้งข้อความไว้ทางช่องแชท หรือผ่านทางแบบสอบถามที่สร้างไว้ในนิทรรศการ

        การประยุกต์ใช้สื่อการเรียนรู้เสมือนจริง
        เป็นขั้นตอนประเมินผลและรับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าชม เพื่อปรับปรุงการจัดนิทรรศการในอนาคต โดยให้ผู้ใช้งานประเมินผ่านการสนทนากับผู้จัด หรือทิ้งข้อความไว้ทางช่องแชท หรือผ่านทางแบบสอบถามที่สร้างไว้ในนิทรรศการ
        การจัดนิทรรศการออนไลน์ด้วย Spatial เป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการนำเสนอเนื้อหาและการมีปฏิสัมพันธ์ในโลกเสมือนจริง ด้วยขั้นตอนการใช้งานที่ง่ายและไม่ซับซ้อน

พร้อมสำรวจโลกใหม่ของนิทรรศการออนไลน์หรือยัง?
        ถ้าท่านสนใจอยากนำเสนอผลงานหรืออยากสร้างนิทรรศการออนไลน์ของท่านเอง แต่ไม่เคยจัดนิทรรศการออนไลน์มาก่อน สามารถอ่านรายละเอียดและใช้บริการของเราได้ที่  https://oet.stou.ac.th/event-service/ ร่วมกันสร้างสรรค์สื่อและนวัตกรรมล้ำสมัย พัฒนาการศึกษาทางไกล ไปกับเราที่สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มสธ.

 

Social Share...