You are currently viewing เคล็ด(ไม่)ลับการถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ : ฉบับปูพื้นฐาน (ตอนที่ 2)

เคล็ด(ไม่)ลับการถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ : ฉบับปูพื้นฐาน (ตอนที่ 2)

เคล็ด(ไม่)ลับการถ่ายภาพสำหรับมือใหม่ : ฉบับปูพื้นฐาน (ตอนที่ 2)

อังคณา  พรรณนราวงศ์
สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มสธ.

      จากตอนที่แล้วได้กล่าวถึงเคล็ด(ไม่)ลับการถ่ายภาพสำหรับช่างภาพมือใหม่ โดยนำเสนอหลักการจัดองค์ประกอบภาพเกี่ยวกับการวางภาพในตำแหน่งจุดสนใจ เส้นนำสายตา และลักษณะพื้นผิว ที่ช่างภาพสามารถนำหลักการเหล่านี้มาใช้สร้างสรรค์ภาพถ่ายให้ดูสวยงาม เกิดเป็นภาพงานศิลปะ สำหรับในตอนที่ 2 นี้เราจะพาคุณก้าวจากการถ่ายภาพได้ไปสู่การถ่ายภาพเป็นแบบมืออาชีพมากขึ้น กับอีก 3 หลักการจัดองค์ประกอบภาพที่จะช่วยเสริมมุมมองในการถ่ายภาพให้มีความโดดเด่นและแตกต่างอย่างที่คุณคาดไม่ถึง

  1. รูปแบบของภาพ

       การนำรูปแบบ มาใช้ในการจัดองค์ประกอบภาพนั้น เป็นการจัดวัตถุที่เป็นรูปแบบเหมือนๆ กันในภาพ หรือสิ่งที่เหมือนๆ กัน ซ้ำซ้อนกัน เช่น ลักษณะของเส้น รูปร่าง ลักษณะพื้นผิว แต่ด้วยการถ่ายภาพในรูปแบบเดียวกันนั้น อาจทำให้ภาพดูไม่น่าสนใจ

a1.1

ภาพที่ 1 ตัวอย่างรูปแบบเหมือนๆ กันในภาพ 

       การช่างภาพ ควรต้องหาจุดเล็ก ๆ มาใช้เพื่อตัดอารมณ์ ให้ภาพมีจุดเด่น  น่าสนใจมากยิ่งขึ้น  รวมถึงการควบคุมทิศทางของแสง และมุมกล้องด้วย เพื่อให้ภาพมีความแตกต่างแปลกตา เกิดเป็นงานศิลปะ

a1.2

ภาพที่ 2 ตัวอย่างภาพที่สร้างจุดสนใจ

a1.3

ภาพที่ 3 ตัวอย่างรูปแบบเหมือนๆ กันในภาพ 

2. น้ำหนักสี

       น้ำหนักสีของภาพที่เกิดจากสีขาวสุดไปจนถึงดำสุดในเวลาถ่ายภาพ เมื่อแสงตกกระทบวัตถุที่มีความเข้มและความสว่างที่แตกต่างกัน ทำให้ภาพเกิดน้ำหนักสีของวัตถุ ที่มีความสว่างและความเข้ม แตกต่างกันด้วย ภาพถ่ายที่มีความขาวหรือสว่างมาก เราเรียกภาพนั้นว่า  ภาพโทนขาว (High key) จะให้ความรู้สึกสบายตา อ่อนหวาน นุ่มนวน  ความสงบ  เป็นต้น ส่วนภาพที่มีความดำหรือมืด เราเรียกภาพนั้นว่าภาพโทนดำ (Low key) จะให้ความรู้สึกลึกลับ หน้าค้นหา น่ากลัว เป็นต้น

a1.4

ภาพที่ 4 ตัวอย่างภาพโทนขาว (High key)  และภาพโทนดำ (Low key)

3. การเน้นกรอบภาพ

      เป็นวิธีการเพิ่มจุดเด่นของภาพ โดยช่างภาพจะต้องสังเกตุสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ที่สามารถนำมาเป็นฉากหน้า เพื่อทำเป็นกรอบภาพให้สามารถนำสายตาไปสู่วัตถุที่ต้องการถ่าย เช่น ประตู หน้าต่าง ปากทางถ้ำ

a1.5

ภาพที่ 5 ตัวอย่างการใช้กรอบภาพ

          การที่ช่างภาพมองเห็นสถานที่ใดที่หนึ่งที่มีความสวยงามในรูปแบบที่เรารู้สึกว่าสิ่งที่เราต้องการถ่ายภาพมีความสวยงาม แต่ไม่รู้จะนำเสนออย่างไรให้ภาพที่ดูมีรูปแบบที่เหมือนกันเกิดความแตกต่างจากสิ่งที่มองเห็นได้นั้น เราควรหาจุดสนใจ หรือเพิ่มจุดสนใจ ให้ภาพเกิดความน่าสนใจหรือจะเรียกได้ว่ามองสิ่งที่ดูธรรมดาให้ออกมาเป็นภาพถ่ายที่ไม่ธรรมดา นั่นหมายความว่าคุณกำลังจะเป็นช่างภาพมืออาชีพที่ไม่ธรรดาด้วยเช่นกัน ซึ่งหลักการจัดองค์ประกอบในการถ่ายภาพยังมีอีกหลายข้อ ที่จะพาคุณไปสู่การถ่ายภาพเป็น โปรดติดตามในตอนต่อไป

พร้อมเป็นนักถ่ายภาพมืออาชีพหรือยัง?

ถ้าท่านสนใจอยากเป็นนักถ่ายภาพมืออาชีพ แต่ไม่มีประสบการณ์มาก่อน สามารถดูตัวอย่างผลงานและใช้บริการของเราได้ที่  https://oet.stou.ac.th/product/ ร่วมกันสร้างสรรค์สื่อและนวัตกรรมล้ำสมัย พัฒนาการศึกษาทางไกล ไปกับเราที่สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มสธ.

Social Share...