You are currently viewing การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Deepfake สร้างโมเดลใบหน้า-เสียง ในการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Deepfake สร้างโมเดลใบหน้า-เสียง ในการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Deepfake สร้างโมเดลใบหน้า-เสียง ในการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

กิตติพันธ์ นาคมงคล
นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ
ศูนย์สร้างสรรค์สื่อดิจัทัลเพื่อการศึกษาทางไกล

      เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วและเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ไม่เพียงแค่ในภาคอุตสาหกรรมหรืองานวิจัย แต่ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในหลากหลายสาขาอาชีพและกิจกรรม รวมถึงการศึกษา หนึ่งในเทคโนโลยี AI ที่น่าสนใจคือ Deepfake ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัยและดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

ภาพที่ 1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Deep Learning สร้างเป็น Deepfake อาจารย์พี่ฉั่ง รายการ “สุขใจไฮเอจ” ช่วง “รู้ทันไอที”

ความหมายและลักษณะของเทคโนโลยี Deepfake
      Deepfake เป็นเทคโนโลยีลอกเลียนแบบบุคคลด้วยปัญญาประดิษฐ์ที่อาศัยหลักการของ Deep Learning เป็นเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องอย่างหนึ่งในสาขาปัญญาประดิษฐ์ ที่สอนให้คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลและเรียนรู้ข้อมูลเหมือนการทำงานของเซลล์สมองมนุษย์ เมื่อป้อนข้อมูลเข้าไป AI จะวิเคราะห์และเรียนรู้จากมุมมองต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจและสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้

      Deepfake มาจากคำว่า ” Deep learning” และ “Fake” ซึ่งใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อแก้ไขวิดีโอในรูปแบบใหม่ที่ทำให้เกิดขึ้นดูเหมือนพูดหรือดำเนินการที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง (Kokate, S., Hegde, H., Lokhande, N., & Pathak, N. , 2021) เทคโนโลยี Deepfake จะเรียนรู้ลักษณะใบหน้า เสียง ท่าทาง พฤติกรรมของบุคคลนั้นๆ จากนั้นจึงสร้างโมเดลขึ้นมาใหม่เพื่อลอกเลียนแบบบุคคลนั้นได้อย่างสมจริง เทคโนโลยีนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในทางการศึกษา เช่น งานศึกษาของ  Kokate, S., Hegde, H., Lokhande, N., & Pathak, N. (2021) ที่ใช้แนวคิด Deepfake ซึ่งสร้างวิดีโอที่สมจริงโดยใช้ First Order Motion Model ที่สามารถเพิ่มการมีส่วนร่วมและการรักษาความทรงจำในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง เป็นส่วนต่อประสานที่อาจารย์สามารถอัปโหลดวิดีโอที่บันทึกไว้ให้กลายเป็นผู้นำเสนอด้วย AI เมื่อนักเรียนคนใดคนหนึ่งเข้าสู่ระบบแล้ว ผู้นำเสนอ AI จะสามารถมีส่วนร่วมกับนักเรียนในระหว่างบทเรียนได้ หรือ การผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา โดยนำเทคโนโลยี Deepfake มาใช้ในการสร้าง Avatar หรือตัวละครนำเสนอหลักสูตรแทนการใช้วิทยากรหรือนักแสดงจริง

การใช้งานโมเดลใบหน้าและเสียงผ่านแพลตฟอร์ม D-ID และ HeyGen  กรณีศึกษา: รายการ “สุขใจไฮเอจ” ช่วง “รู้ทันไอที”
      ในบทความนี้ขอยกตัวอย่างการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อบริการวิชาการแก่สังคม รายการสุขใจไฮเอจ ช่วง รู้ทันไอที ของสำนักเทคโนโลยีการศึกษา เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Deep Learning มาเรียนรู้ข้อมูลของคน ๆ หนึ่งและสามารถสร้างเป็น Deepfake โดยประยุกต์ใช้ร่วมกับแพลตฟอร์มการสร้างวิดีโอที่สร้างโดย AI คือ D-ID และ HeyGen ซึ่งใช้เทคโนโลยีการจดจำใบหน้าและเสียงขั้นสูงเพื่อสร้างโมเดลใบหน้าและเสียงของผู้ใช้ในแบบเฉพาะตัว ซึ่งหลายคนคงสงสัยว่าทำไมต้องนำมาใช้ร่วมกับ D-ID และ และ HeyGen แทนที่จะใช้ภาพวิดีโอของคนจริง ๆ นั่นก็เพราะว่า การสร้าง Avatar พูดได้ด้วย AI เป็นบุคคลดิจิทัลนั้น สามารถสร้างให้พูดได้ เลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ได้ โดยการเข้าไปเลือกใบหน้าบุคคลที่ต้องการหรือจะอัปโหลดใบหน้าของตนเองลงไป และป้อนข้อความหรือไฟล์เสียง จากนั้นระบบจะสร้าง Avatar ดิจิทัลที่สามารถพูดได้ด้วยเสียงและการเคลื่อนไหวใบหน้าคล้ายคนจริงโดยอัตโนมัติ  ทำให้ผู้ชมได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานและตื่นเต้นเร้าใจ อีกทั้งลดข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น วิทยากรไม่สะดวกที่จะมาถ่ายทำรายการ หรือ ต้องการแก้ไขวิดีโอบรรยายบางส่วนโดยไม่ต้องถ่ายทำใหม่ ซึ่งช่วยประหยัดเวลา งบประมาณ และลดขั้นตอนการทำงานให้รวดเร็วขึ้น

ภาพที่ 2 การใช้งานโมเดลใบหน้าและเสียงผ่านแพลตฟอร์ม D-ID และ HeyGen

ข้อดีของการนำ Deepfake มาใช้ในการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

    • สร้างสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ ทันสมัย สามารถจำลองสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย
    • ประหยัดค่าใช้จ่ายในการผลิตรายการเนื่องจากใช้เทคโนโลยีแทนการใช้นักแสดงจริง

ข้อควรระวังในการใช้งาน Deepfake

    • ประเด็นทางจริยธรรม เช่น การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล การหลอกลวงด้วยการนำเสนอข้อมูลเท็จ
    • มีความเสี่ยงที่จะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดและก่อให้เกิดผลเสียหายได้หากขาดการควบคุมที่ดี
    • จำเป็นต้องมีแนวทางและข้อกำหนดในการใช้งานอย่างมีความรับผิดชอบ

ภาพที่ 3 เทคโนโลยี Deepfake สร้างโมเดลใบหน้า-เสียง ในการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา รายการ “สุขใจไฮเอจ” ช่วง “รู้ทันไอที”

      เทคโนโลยี Deepfake และการสร้างโมเดลใบหน้าเสียงด้วย AI มีศักยภาพสูงในการนำมาใช้สำหรับพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบใหม่ ที่สามารถดึงดูดความสนใจและตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนได้ดี อย่างไรก็ตาม การนำมาใช้งานต้องคำนึงถึงประเด็นด้านจริยธรรม สิทธิส่วนบุคคล และการใช้งานอย่างมีความรับผิดชอบตามหลักการและข้อกำหนดที่เหมาะสมด้วย สุดท้ายสามารถติดตามรายการโทรทัศน์เพื่อบริการวิชาการแก่สังคม รายการสุขใจไฮเอจ ช่วง รู้ทันไอที ของสำนักเทคโนโลยีการศึกษา ได้ทางช่อง STOU CHNANNEL, DLTV14, และ NBT2HD ทุกวันจันทร์ เวลา 09.05 น.

ที่มา :
https://aws.amazon.com/th/what-is/deep-learning/?nc1=f_ls
https://www.d-id.com/
https://www.heygen.com/
Kokate, S., Hegde, H., Lokhande, N., & Pathak, N. (2021). An Approach to Education: Improvements using Image Animation for Deepfakes.

Social Share...